ReadyPlanet.com
dot
สินค้า/บริการ
dot
bulletBook - หนังสือ
bulletBusiness Cards - นามบัตร
bulletCatalogs - แคตตาล็อก
bulletCalenders - ปฏิทิน
bulletPresentation Folder - แฟ้ม
bulletBrochures - โบว์ชัวร์ แผ่นพับ
bulletSticker - ฉลากสินค้า
bulletBox, Bag - กล่อง , ถุง
bulletBill - เอกสารต่าง ๆ
bulletดิจิตอลพริ้น - พิมพ์จำนวนน้อย
bulletหนังสือสวดมนต์
bulletMenu - เมนูอาหาร
bulletBarcode - บาร์โค้ด
bulletแยกสี/ออกฟิล์ม
bulletซอง-หัวจดหมาย




กว่าจะเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม

 


ป๊อบในฐานะที่คลุกคลีกับวงการนี้มาหลายปีก็มีประสบการณ์พอจะเล่าได้ไม่น้อยแต่สิ่งที่ป๊อบจะเล่าต่อไปนี้อยากให้ทุกคนรู้ว่ามันคือภาพรวมนะครับไม่ได้เจาะจงว่าเป็นสำนักพิมพ์ไหนเพราะป๊อบก็ไม่ได้อยู่แค่สยามอินเตอร์ฯแต่ป๊อบตระเวนไปหลายที่หลายแห่งรวมทั้งยังทำหนังสือเล่มล่าสุดเองด้วย ( เอ่อไม่มีสำนักพิมพ์เองนะครับผมหลายคนเข้าใจผิดป๊อบแค่ทำงานทุกอย่างและมีทีมงานเองแต่จ้างโรงพิมพ์ต่างหากนะครับ ) ดังนั้นป๊อบจะนำประสบการณ์จากที่ต่างๆมาสรุปให้ฟังกัน

 
ทุกสิ่งเริ่มขึ้นจาก...
 
 
1. ต้นฉบับ

   ต้นฉบับก็คือ "ผลงาน" ของ "นักเขียน" และสำหรับบางคนคำสั้นๆนี้อาจเป็นโครงการณ์ข้ามชาติที่ไม่รู้ว่าจะเสร็จทันวันโลกาวินาศหรือไม่? ระยะเวลาของต้นฉบับเป็นอะไรที่ไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับฟิลลิ่งความสุนทรีย์ความอิสระความมุมานะของตัวนักเขียนซึ่งสิ่งต่างๆที่เน้นตัวหนานั้นจะมีมากถึงจุดสุดยอดในช่วง2 เดือนก่อนกำหนดส่งต้นฉบับหรือหลังจากที่เหล่านักเขียนได้รับการสารกระตุ้นพิเศษอันมีชื่อว่า "สายตรงจากบอกอ" นั่นแลพวกเราจะเริ่มตะบี้ตะบันแหกขี้ตาเขียนกัน 
  
ดังนั้นสิ่งแรกที่ป๊อบจะพูดในหัวข้อนี้ก็คือทริคเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับต้นฉบับครับผม 
   (
อันนี้อ้างอิงจากประสบการณ์ตรงนะครับ)
  

 

    1.1 ) โครงเรื่อง 
            เป็นหัวใจหลักหรือCore Concept ของงานทุกชนิด - สำหรับป๊อบโครงเรื่องคือการวาดแผนที่จินตนาการเพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดหมายเราต้องรู้ว่าเรื่องของเราจะเริ่มยังไง? จบยังไง? คิดไว้ก่อนคร่าวๆตรงนี้จะเป็นจุดที่ง่ายมากเพราะนักเขียนส่วนใหญ่จะมีเนื้อเรื่องอยู่ในหัวหมดแล้ววิธีการก็คือเขียนออกมาไม่ต้องมีระเบียบก็ได้ครับเขียนออกมาเลยมั่วๆนั่นแหละเอาให้รู้ว่า1 ถึง10 เป็นยังไงแค่นั้นพอ
         
แล้วจากนั้นค่อยมาใส่ความตื่นเต้น
         
การขับรถบนทางด่วนย่อมไม่ตื่นเต้นเท่าการขับรถในป่าแสนวิบากงานเขียนก็เช่นกันหลังจากที่เรารู้ทุกอย่าง1-10 เราก็ควรใส่รายละเอียดเพิ่ม1.1, 1.2, 2.5,8.3 อะไรก็ว่าไปเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องอันหมายถึงความซับซ้อนความพลิกผันจุดหักมุมปริศนาความเร้าใจความลุ้นระทึกต่างๆนานาลงไปเพื่อไม่ให้เราหลงทางระหว่างการเขียนซึ่งตรงจุดนี้นักเขียนต้องอาศัยประสบการณ์เองล่ะครับสอนกันไม่ได้จริงๆเพราะที่ป๊อบเป็นอยู่ก็ทำได้แค่ในมาตรฐานของตัวป๊อบถามว่าสู้นักเขียนรุ่นพี่ในยุทธจักรได้ไหมตอบได้เลยครับว่า "ไม่" เด็ดขาด 


         
ในส่วนของโครงเรื่องสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ "การดำเนินเรื่อง" - "ตัวละคร" - "ฉาก" , มันจะเป็นจุดที่นักเขียนคิดสร้างตัวละครต่างๆขึ้นมายกตัวอย่างไวท์โรดของป๊อบซึ่งมีตัวละครเยอะมากดังนั้นป๊อบต้องเขียนชื่อตัวละครทั้งหมดรายละเอียดของเขาภูมิหลังปริศนาการแสดงออกCharacter รวมถึงการปรากฏตัวของเขาในลักษณะค่อนข้างละเอียดเพื่อให้เราจำเขาได้ใช้เขาได้ถูกสถานการณ์สำหรับรูปแบบของตัวละครป๊อบคิดว่าแต่ละคนคงมีแนวคิดต่างออกไปเงียบขรึมสนุกสนานอะไรก็ตามป๊อบไม่ขอเข้าไปยุ่งตรงนั้นเพราะบางทีทำได้ดีกวาป๊อบด้วยซ้ำเพียงแต่ข้อสำคัญก็คือ "คุณต้องไม่ลืมตัวละคร" เท่านั้นเองส่วนเรื่อง "ฉาก" หลายคนติดปัญหากับจุดนี้เพราะนึกออกแต่บรรยายไม่ถูก
         
ทำไมไม่วาดล่ะครับ?
         
วาดสวยไม่สวยไม่เป็นไรแค่เราอ่านแล้วรู้ก็พอเมื่อเราวาดภาพเราจะแต่งเติมไปเรื่อยแล้วคราวนี้เราจะสามารถบรรยายมันได้งายขึ้นเยอะเชื่อเถอะครับผมป๊อบลองมาแล้ว 
        
หลังจากเราได้โครงเรื่องมั่ว + การใส่จุดเพิ่มเติม + รายละเอียด + ตัวละคร + ฉาก + การดำเนินเรื่องก็มาถึงจุด "การสรุปโครงเรื่อง" นั่นก็คือการจัดระบบและระเบียบแบบแผนให้โครงเรื่องของเราอย่างมีรูปแบบทำมันให้สวยงามอ่านเข้าใจง่ายและมีที่ว่างสำหรับการเพิ่มเติมเยอะ 
        
เพราะถึงวันนี้คุณจะได้โครงเรื่องที่เพอร์เฟคแต่พรุ่งนี้ใครจะรู้คุณอาจจะมีอะไรที่ดีกว่าก็ได้เพราะฉะนั้นเว้นเผื่อความคิดใหม่ๆด้วยนะครับอ้อแนะนำให้นักเขียนทุกคนมีสมุดพกติดตัวคนละเล่มครับป๊อบพกตลอดเผื่องอะไรดีๆก็จดเลยหรือจะเป็นการอัดเสียงก็ได้ครับป๊อบทำบ่อยเหมือนกันความคิดเราจะได้ไม่ตกหล่นระหว่างทางนะครับ
       
ซึ่งหลังจากที่เรามีโครงเรื่องแสนสมบูรณ์แล้วเราก็จะมาเขียนกัน 

 
 
 

   1.2 ) การเขียนเนื้อเรื่อง
           
ก็คือการเอาโครงเรื่องที่มีอยู่มาเพิ่มเติมเรียงร้อยให้กลายเป็นนิยายนั่นเองตรงจุดนี้ป๊อบจะไม่ขอแนะนำมากเพราะทุกคนมีสไตล์ภาษาการคิดเป็นของตัวเองแต่ที่ป๊อบจะแนะนำก็คือสิ่งที่ถูกถามมาทางเมล์ 
           "
แรงบันดาลใจ"
           
แรงบันดาลใจในการเขียนเป็นสิ่งสำคัญบางครั้งแม้เราจะมีโครงเรื่องหรูเลิศแล้วแต่ก็เขียนไม่ได้ซักทีพยายามนั่งหน้าคอมหลายต่อหลายครั้งมันก็เล็ดรอดออกมาสำหรับคนที่เขียนไม่ออกหรือที่เขาเรียกว่า "ตัน" ป๊อบมีวิธีแก้ไขครับ 
โดยขั้นแรกที่เราต้องทำก็คือ
           -
เลิกเขียนใช่เลิกเขียนไปก่อนปิดคอมหยุดไปเลยเงียบไปเลยไม่ต้องยุ่งกับมันมันไม่ได้ก็คือไม่ได้ครับจะไปดันทุรังทุกรังทำไม 
จากนั้น
           -
ไปเที่ยวดูผู้คนศึกษาสังคมตากแอร์เย็นฉ่ำชอปปิ้งให้สนุกเข้าป่ากางเต็นท์มันจะมีเรื่องให้เขียนเองแหละครับ
           -
อ่านหนังสือเพื่อหาแนวทางบางเล่มอาจจะทำให้เรางอะไรเด็ดๆบางเล่มอาจทำให้เราอยากเปลี่ยนแนวก็ได้ครับ
           -
ดูหนังเวลาป๊อบจะเขียนหนังสือป๊อบจะซื้อหนังเป็นสิบๆแผ่นแล้วดูตั้งแต่ตื่นจนนอนรวมทั้งจะออกไปโรงหนังตั้งแต่11 โมงเช้าเพื่อดูหนังประมาณ3 -4 เรื่องและเสร็จเที่ยงคืน (บางครั้งตี1 ) เพื่อให้เรามีแรงหึกเหิมมีความอยากจะสร้างโลกของเราครับ 
           -
เล่นเกมส์เป็นหนทางที่น่าสนใจครับเพราะเกมส์คือ "นิยายที่ถูกถ่ายทอดเป็นภาพ" อยู่แล้วได้เล่นได้คิดด้วยเจ๋งครับ
          -
เมาธ์แตกเชื่อเถอะครับงานเขียนส่วนหนึ่งมาจากการนินทาทั้งนั้นไม่งั้นพวกหนังสือเมาธ์ดาราจะเต็มแผงรึ?
          -
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับนักเขียนจะทำให้เราได้เห็นความแตกต่างมากขึ้นเผลอๆเขาจะเป็นแรงหนุนให้เราอยากมีต้นฉบับเป็นของตัวเองเร็วๆด้วยครับ
          -
ฟังเพลงสำหรับบางคนการฟังเพลงก็เป็นปลุกใจอย่างหนึ่งเหมือนกันนะ
นี่แค่คร่าวๆนะครับบางคนอาจจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ก็แล้วแต่ครับผมแต่นี่วิธีของป๊อบอ่ะนะครับซึ่งหลังจากที่เราตะบี้ตะบันจนต้นฉบับเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ

 
 
 

2. ) Re Write (โดยนักเขียน)
           หลังจากพิมพ์ทุกอย่างเสร็จให้พักซัก2 วันครับเพื่อ "เคลียร์ความคิด" ลบความคิดแง่บวกเกี่ยวกับนิยายของเราไปให้หมดไปทำกิจกรรมอะไรต่างๆก็ได้ให้ลืมมันซะจากนั้นค่อยกลับไปอ่านเราจะพบว่ามี "ข้อผิดพลาด" ตูมเลยครับผมทั้งสำนวนการสะกดวรรคตอนย่อหน้าโอ้วสารพัดสารเพให้ค่อยๆแก้ไปครับแก้ตั้งแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้ายจนหมดแล้วก็แก้อีกรอบเพราะนิยายหนึ่งเล่มไม่ได้มีแค่5 หน้านะคับดูรอบเดียวไม่ถ้วนหรอกครับต้องสองรอบขึ้นไปถ้ามากกว่านั้นก็ดีครับแล้วแต่ความอึดของนักเขียน  ( ไม่ได้โม้นะไวท์โรดภาค3 แปดร้อยหน้าป๊อบแก้เอง6 รอบเลยนะครับแต่คำผิดก็ตูมอยู่ดี)

 
หลังจากแก้จนอิ่มหนำสำราญแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ
 
 

3.) ส่งงานEditor
             Editor
หรือ "บรรณาธิการ" ก็คือผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจตรา "ต้นฉบับ" ของนักเขียนครับอาชีพนี้จะมีหูตาที่ละเอียดถี่ถ้วนมากครับผมอย่างพี่นีแห่งนานมีบุ๊คที่เป็นบรรณธิการให้girl and a doll ที่ป๊อบลงในเล่มโปรดจัดว่าเป็นบรรณาธิการที่เยี่ยมากครับคำโน่นคำไหนไม่เหมาะจะแนะนำหมดคำไหนควรใช้ไม่ควรใช้พี่เขาจะละเอียดจริงๆอย่าคิดว่าการที่เราตรวจหลายๆรอบจะเพอร์เฟคนะครับไม่เลยครับมันอาจจะเหลือคำผิดเป็นร้อยเป็นพันก็ได้บรรณาธิการจะทำหน้าที่แก้ไขแนะนำอะไรที่สมควรต่างๆแล้วจากนั้น "ต้นฉบับ" ที่ถูกแก้ไขแล้วของเราจะถูกปริ๊นท์ใส่กระดาษA4 เพื่อส่งกลับมาที่นักเขียนอีกทีครับ - ระยะเวลาตรงนี้ประมาณ1-2 สัปดาห์ครับ


               
สำหรับนักเขียนที่ส่งงานครั้งแรก (คือไม่ได้เป็นนักเขียนในสังกัด) การพิจารณาต้นฉบับจะกินเวลาตั้งแต่1 สัปดาห์  - 6 เดือนขึ้นไปครับแล้วแต่ดวงแล้วแต่โอกาสจริงๆครับผมและถ้าเขาไม่ติดต่อมาใน6 เดือนก็ควรทำใจครับแต่ก็ไม่แน่นะอาจจะมีปาฏิหาริย์อิอิสามารถเลือกได้ว่าจะ "ลุ้นต่อ" หรือ "ส่งที่ใหม่" แล้วแต่ครับผม

 
 
 

4.) Edit (โดยนักเขียน)
           
ตรงกระบวนการนี้ "ต้นฉบับ" ของเราจะเหลือข้อผิดพลาดน้อยมากครับเราจะได้ต้นฉบับมาดูอีกครั้งเพื่อตรวจว่ามีอะไรตกหล่นหรือไม่? ตรงนี้บรรณาธิการส่วนใหญ่จะแจ้งมาว่า "ขอแก้ตรงนี้" "ขอแนะนำตรงนี้" "มีข้อสงสัยตรงนี้" นั่นก็เป็นหน้าที่ของเราครับที่ต้องปรับไปตามความเหมาะสมเพราะอย่าลืมว่าบรรณาธิการเป็นคนแรกๆที่อ่านสิ่งที่เขาไม่เข้าใจหรือสงสัยก็อาจเป็นสิ่งที่ "คนอ่าน" ทั่วไปคิดเหมือนกันดังนั้นตรงไหนไม่เคลียร์เราต้องทำให้เคลียร์สำนวนตรงไหนอยากให้คงของเราไว้ก็บอกได้ครับแต่ส่วนใหญ่บรรณาธิการจะแก้มาให้ตามความเหมาะสมอยู่แล้วซึ่งนอกจากการตรวจตราเราสามารถเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องได้ด้วยระยะเวลาตรงนี้ส่วนมากจะ1 สัปดาห์ครับ

 
 
5.) ส่งกลับไปบรรณาธิการเพื่อตรวจดูสิ่งที่เราแก้ไขอีกครั้ง
 
 

6.) ส่งกลับนักเขียนเพื่อตรวจตราครั้งสุดท้าย 
      
ตรงนี้การแก้ไขจะไม่ค่อยเกิดขึ้นแล้วนะครับผลงานจะสมบูรณ์95% แล้วดังนั้นหน้าที่มีแค่ตรวจดูความละเอียดของเนื้อเรื่องเท่านั้นครับ (ยกเว้นกรณีปีอบหน่อยแล้วกันครับป๊อบแก้5-6 ครั้งเลยแหละ) ซึ่งเมื่อเราส่ง "ต้นฉบับ" กลับไปที่บรรณาธิการมันก็จะกลายเป็น "ต้นฉบับ100%" ครับ

 
 
 

7.) การจัดหน้ากระดาษ
     
หลังจากที่"ต้นฉบับ" A4 ถูกตรวจตราครบถ้วนแล้วจะมีทีมงานฝ่ายบรรณาธิการที่ต้องทำหน้าที่จัดการกับหน้ากระดาษให้ออกมาเป็นแอบA5 ซึ่งก็คือขนาดมาตรฐานของพ๊อกเก็ตบุ๊คทั่วไปตรงนี้จะมีการกำหนดรูปแบบของหนังสือด้วยนะครับว่า
        -
ขอบบนขอบล่างด้านข้างทั้งสองเว้นเท่าไหร่?
        -
ตัวหนังสือแบบไหน? ไซส์อะไร?
        -
ขนาดช่องไฟช่องว่างการเว้นบรรทัดเท่าไหร่?
        -
การย่อหน้าเท่าไหร่?
       
ส่วนใหญ่กระบวนการนี้จะอิงตามมาตรฐานของสำนักพิมพ์แต่ละที่ครับเพราะทุกที่มีรูปแบบการพิมพ์หนังสือต่างกันอยู่แล้วครับผม 
       
แต่ป๊อบอยากจะแนะนำอะไรบางอย่าง?


       
สำหรับคนที่คิดจะพิมพ์เองเราอาจจะเจอปัญหาการจัดรูปแบบด้วยนะครับเพราะว่าคอมส่วนใหญ่ที่เราใช้เป็นวินโดวส์แต่บางโรงพิมพ์เขาใช้MAC ในการจัดเพราะฉะนั้นถ้าไม่จัดการดีๆขยะจากวินโดว์จะไปโชว์เพียบเลยนะครับนี่คือความผิดพลาดโดยตรงที่ป๊อบเจอป๊อบส่งไฟล์ไปปรากฏว่าเว้นวรรคย่อหน้าอะไรหายหมดเลยครับทุกสิ่งทุกอย่างติดกันเป็นพรืดมีสระขยะบ้าบอเป็นพันเป็นหมื่นตัวเลยครับซึ่งถ้าทีมงานไม่ชำนาญจะเสียเวลาตรงนี้มากครับอยากให้ศึกษาดีๆด้วยแต่ถ้าเป็นสำนักพิมพ์ทั่วไปเขาจะมีโปรแกรมแปลงอะไรของเขาอยู่แล้วอ่ะครับไม่ต้องห่วง 
       
หลังจากจัดหน้ากระดาษแล้วส่วนมากเราจะได้ดูอีกรอบครับเพื่อตรวจว่าเขาจัดการถูกต้องไหม? แล้วแก้ไขส่งกลับไป

 
 
 

8.) การยิงแผ่นเพลท
       
เพลทจะมีลักษณะเหมือนแผ่นใสครับแต่หนากว่าหลังจากที่จัดหน้ากระดาษเสร็จสิ้นสมบูรณ์เขาจะยิงทุกสิ่งทุกอย่างที่จัดไว้ลงในแผ่นเพรทซึ่งแผ่นเพรทตัวนี้จะไม่สามารถแก้ไขได้แล้วนะครับผมเขาจะเอามันไปใช้เพื่อการพิมพ์รูปเล่มครับเพราะฉะนั้นใครที่เข้าใจว่าเขาเอาต้นฉบับไปปริ๊นท์เป็นพันๆแผ่นผิดนะครับเขาผมอิอิ

 
 
 

9.) การเข้ารูปเล่ม
         หลังจากที่ต้นฉบับถูกพิมพ์เพรทออกมาเรียบร้อยเขาก็เอาต้นฉบับพวกนี้ไปเข้ารูปเล่มแบบที่เราเห็นตรงสันจะมีการใส่กาวด้วยอะไรประมาณนั้นซึ่งตรงนี้นี่ต้องมีความวชาญอย่างสูงครับเนื่องจากผิดนิดเดียวอาจเกิดกรณีหน้าสลับหน้าหายหน้าขาว (ขาวจริงๆโอเลย์ตายไปเลยแบบว่าหน้าเปล่า) หน้ายับทำนองนั้นซึ่งไวท์โรดเล่มล่าสุดของป๊อบก็โดนมาทุกรูปแบบเรียบร้อยครับอิอิในขั้นตอนนี้เขาจะเอาปกเข้ามาเย็บด้วยนะครับผม           จะมีการเย็บอีกประเภทที่เรียกว่า "เย็บกี่" ซึ่งเป็นการเย็บที่ทนทานมากจะเห็นเวลาเราเปิดแล้วถึงสันอ่ะครับมันการเย็บกี่ซึ่งจะคงสภาพหนังสือไว้ค่อนข้างนานเลยครับแต่เสียค่าใช้จ่ายเยอะพอสมควรใช้กับพวกอย่างหนาทั้งหลายครับ


         
เมื่อเสร็จการเข้ารูปเล่ม -  "ต้นฉบับ" ของคุณก็จะกลายเป็น "ผลงาน" ครับ

 


*********************************************************************************
แต่ยังไม่จบเพราะป๊อบยังไม่ได้เจาะลึกบางสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการทำหนังสือนะครับ
โอเคคุณทราบหมดแล้วว่าหนังสือ1 เล่มกว่าจะได้มามันลำบากแค่ไหนแต่ไม่ใช่แค่คุณหรือบรรณาธิการหรือโรงพิมพ์นะครับที่ลำบากมีอีกหลายคนเลยที่จะมาร่วมชะตากรรมกับคุณ

 

1. ) ประชุมสโคปproject
      
ส่วนมากขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ต้นฉบับเสร็จและได้รับการยืนยันว่าจะตีพิมพ์ชัวร์ทีมงานอันประกอบด้วยประชาสัมพันธ์ผู้จัดการบรรณาธิการกราฟฟิคการตลาดและอีกมามายรวมทั้งตัวนักเขียนจะมารวมกันอยู่ในห้องเดียวเพื่อกำหนดทิศทางของหนังสือจะมีการวางแผนว่า 
 

      - เราจะออกหนังสือเมื่อไหร่?
        
อาจจะในงานสัปดาห์หนังสือหรือมหกรรมหนังสือเพราะเป็นช่วงที่สำนักพิมพ์จะได้รายได้เต็มๆโดยไม่ต้องผ่านตัวแทนจำหน่าย (ซีเอ็ดบีทูเอสดอกหญ้าดวงกมลและอื่นๆ) นักเขียนกับผู้อ่านมีโอกาสได้พบปะกันแลกเปลี่ยนความเห็นได้แจกลายเซ็นเช็คเรตติ้งสนุกสนานเฮฮารื่นเรงยิ่งนักซึ่งหนังสือที่อ่านช่วงนี้จะขายได้เยอะนะครับบางทีเป็นพันบางทีเป็นหมื่นก็มีแต่ข้อก็อาจจะเป็นที่โอกาสติด "ชาร์ตหนังสือ" ตามร้านหนังสือก็ลดลงเพราะคนหันไปซื้อในงานหมดเนื่องจากถูกกว่าครับซึ่งบางทีกำหนดการออกหนังสือก็อาจจะเป็นเดือนที่ใกล้ๆกับงานเพื่อสร้างAwareness หรือให้ผู้อ่านได้เห็นก่อนมันจะได้เป็นการกระตุ้นให้เขาไปหาข้อมูลเพื่อนำไปสู่Purchase Intention การตัดสินใจซื้อในที่สุดครับผม 

 

       - ปกเป็นยังไง?
       ปกเป็นสิ่งที่สำคัญสุดๆๆๆๆๆๆของหนังสือเพราะมันคือ "หนังหน้า" เป็นอะไรที่คนจะเห็นอย่างรแกถ้าปกห่วยมากกกกต่อให้เนื้อเรื่องดีถึงขึ้นเทพบนโอลิมปัสคีรีอ่านก็ไม่ถูกหยิบหรอกครับฉะนั้นเราต้องคุยเรื่องปก, ตามประสบการณ์, ป๊อบจะวาดปกคร่าวๆให้ฝ่ายกราฟิค (คร่าวจริงๆเส้นๆเลยอ่ะ) แล้วเล่าว่าทำไมถึงเลือกฉากนี้ทำไมต้องเป็นเหตุการณ์นี้มันสำคัญยังไงฝ่ายกราฟิคเขาจะถามเราตตลอดว่าสีตรงนี้อะไรครับ? หน้าตาตัวนี้ยังไง? เป็นการคุยที่สนุกและละเอียดมากซึ่งส่วนใหญ่ปกจะไม่ได้ถูกวางไว้แบบเดียวจะมีหลายตัวเลือกสำหรับสำรองด้วยดังนั้นทางที่ดีนักเขียนควรจะทำการบ้านให้หนักเรื่องปกครับเพราะมันจะเป็นตัวสื่อความคิดของนักเขียนให้คนอ่านรับรู้เป็นอย่างแรกป๊อบเห็นนักเขียนหลายคนที่ให้เขาวาดโดยไม่ได้ปรึกษากันผลก็คือผิดคอนเซปต์ไม่โดนใจนักเขียนแล้วใครผิดอ่ะครับคุณไม่พูดเองนิอิอิเพราะฉะนั้นเราต้องขอมีส่วนร่วมกับปกให้มากที่สุดครับอ้อรวมถึงรูปประกอบด้วยนะครับอย่าคิดว่าให้เขาไปคิดเองอ่านเองเขาไม่มีเวลาขนาดนั้นหรอกครับเขาไม่ได้ทำงานให้เราคนเดียวดังนั้นถ้าเป็นตัวละครต้องบอกสีผมสีตาความสูงสีผิวเอาเป็นReference ก็ได้ครับเช่น


      "
อยากได้หุ่นแบบโดราเอม่อนอ่ะครับขอต่างๆแบบเซลเลอร์มูนเอาผ้าคลุมแบบแบทแมนกางเกงแบบฮัลก์แอ๊บแบ๊วประมาณโฟร์มดล่ำประมาณสไปเดอร์แมนก็พอพี่อ้อๆทรงผมโงกุนนะครับมีรอยยิ้มแบบลูฟี่เปลือยอกแบบสังทองผิวแทนแบบข้าวนอกนาแล้วอย่าลืมอันนี้สำคัญขอสะดือจุ่นแบบเทเลทับบี้อ่ะครับ" 


     
เพียงเท่านั้นฝ่ายกราฟฟิคก็จะเนรมิตตัวละครของคุณได้ตามที่คุณหวังครับผมบนตัวปกนั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า "บาร์โค๊ด" ด้วยนะครับซึ่งบาร์โค๊ะจะต้องขึ้นทะเบียนISBN เพื่อจดหมายเลขหนังสือของคุณด้วยเวลายิงที่เครื่องตามร้านมันก็จะขึ้นรายละเอียดมาครับว่าหนังสือชื่ออะไร - ใครแต่ง - แนวอะไร - กี่หน้า - ซึ่งป๊อบก็ได้หาข้อมูลจาก http://www.nlt.go.th/th_isbn.htm มาให้สำหรับคนที่สนใจครับลองอ่านเป็นเกล็ดความรู้ก็ได้ครับผม 
   
      -
การตลาด + ประชาสัมพันธ์
     
ใช่ว่าหนังสือ1 เล่มจะวางขายในตลาดนัดซะเมื่อไหร่หนังสือก็เหมือนproduct ทั่วไปที่ต้องการMarketing มาหนุนครับนักเขียนที่ดีจะต้องเก่งการตลาดจำป๊อบเอาไว้นะนักเขียนที่ดีต้องรู้เรื่องนี้ด้วยทุกคนครับทีมงานจะวางแผนให้เราว่าจะมีการสัมภาษณ์เมื่อไหร่? - ออกสื่อไหนบ้าง? - เว้นระยะเวลาห่างเท่าไหร่? - นักเขียนต้องออกไปแจกลายเซ็นต์เมื่อไหร่? - ต้องพบปะแฟนเมื่อไหร่? - ถ้านักเขียนไม่เป็นการตลาดไม่รู้จักจุดยืนของตัวเองแย่เลยนะครับเราต้องรู้จักTarget หรือกลุ่มเป้าหมายของเราอย่างป๊อบป๊อบเสนอเลยว่า "พี่ป๊อบจะไปทัวร์ที่นี่ๆโรงเรียนนั่นนี่นะ" เพื่อเราจะได้พบกับกลุ่มคนอ่านจริงๆไม่ใช่ว่าไวท์โรดไปโปรโมตใน "สถานบำเพ็ญธรรม" จะมีคนฟังไหมอ่ะครับ? เราต้องรู้เวลาสถานที่เสนอเขาได้ครับผมเขาไม่ตบนะป๊อบลองแล้วจากนั้นเขาจะสรุปแผนให้เรามีตารางกิจกรรมน่ารักๆให้เราประชาสัมพันธ์จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลหนังสือเราไปให้นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ต่างๆเพื่อลงข้อความโปรโมตให้ครับอันนี้เขาทำให้เองเราไม่เสียค่าใช้จ่ายนะครับผมบางคนอาจมีออกทีวีออกวิทยุอะไรก็ตามแต่นโยบายของแต่ละที่ไปครับ

 

นั่นก็คือเรื่องราวคร่าวๆที่เกิดในห้องประชุมนะครับผมคงจะเห็นแล้วว่าการเป็นนักเขียนนั้นต้องเจออะไรมากมายก่ายกองเลยครับเพราะฉะนั้นป๊อบอยากให้ทุกคนเตรียมตัวศึกษาอะไรต่างๆดีโดยเฉพาะผลงานของตัวเองต้องตีให้แตกครับเราจะได้พูดคุยกับทีมงานได้ถูกต้องครับผมอ้อแล้วอย่าลืมที่ป๊อบบอกหมั่นศึกษาเรื่อง "การตลาด" ของตัวเองด้วยมันจะเป็นแนวทางที่ทำให้หนังสือประสบความสำเร็จได้ไม่ยากครับ

 

ผู้แต่ง : drpop2003@hotmail.com

ลิงค์ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1116930 

 

หมายเหตุ :เราไปพบเข้าในเว็บบอร์ดdek-d.com น่าสนใจมากสำหรับคนที่ต้องการที่ทำหนังสือสักเล่มหนึ่งจึงนำมาเผยแพร่ในเว็บของเราและขอขอบคุณผู้แต่ง drpop2003@hotmail  มาที่นี้

 
 
ขึ้น
 



บทความน่ารู้ ในวงการพิมพ์

ทำไมสีงานสิ่งพิมพ์ ถึงไม่เหมือนหน้าจอ Computer?
Barcode คืออะไร ?
สเปกทั่วไปของงานพิมพ์
พระนามบัตร ในหลวง
กระดาษขนาดต่างๆ
การสร้างไฟล์ PDF/X
กระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์
10 ปัญหาของไฟล์ต้นฉบับ PDF article
การเข้าเล่มมีกี่วิธี
ของตีพิมพ์ คืออะไร ?
SAL เมล์อากาศแบบประหยัด